Defence Technology Institute Repository >
บทวิเคราะห์ >
เทคโนโลยีอวกาศ >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/4433
|
Title: | แนวโน้มเทคโนโลยีอวกาศและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย |
Authors: | ฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, TTA |
Keywords: | เทคโนโลยีอวกาศ SpaceX CubeSat Low-Earth Orbit Satellites Systems LEO LEO Satellites GNSS Space Early Warning Space Force Anti-Satellite system Space Assets Space Flag THEOS-2 GISTDA Sounding Rocket |
Issue Date: | 9-Jun-2023 |
Abstract: | แนวโน้มเทคโนโลยีอวกาศและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอวกาศของประเทศไทย |
Description: | ห้วงอวกาศถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ปฏิบัติการใหม่ที่ได้รับความสนใจในด้านความมั่นคง ซึ่งเริ่มขยายวงกว้างจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศที่เริ่มขยายตัวออกจากชาติมหาอำนาจหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และจีน ไปยังชาติอุตสาหกรรมศักยภาพสูง เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรป รวมไปถึงภาคเอกชนที่มีขีดความสามารถ เช่น SpaceX ทำให้ต้นทุนการปฏิบัติการในอวกาศต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนแม้แต่ชาติกำลังพัฒนาก็สามารถใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศสากลได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ดาวเทียมขนาดเล็ก (CubeSat) ที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ (Payload) หลากหลาย และสามารถส่งขึ้นอวกาศครั้งละมาก ๆ ผ่านบริการภาคเอกชนได้ในราคาประหยัด รวมไปถึงความพยายามของภาคเอกชนขนาดใหญ่ เช่น SpaceX และ Amazon ที่ผลักดันให้ห้วงอวกาศเป็นเครือข่ายโทรคมนาคมแห่งใหม่ ด้วยดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนหลายหมื่นดวง เพื่อทดแทนการวางโครงข่ายใยแก้วนำแสงข้ามทวีปแบบเดิม โดยแนวโน้มของการใช้ห้วงอวกาศจะมุ่งเน้นไปที่ ระบบดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low-Earth Orbit Satellites Systems) ซึ่งหมายถึง ระบบดาวเทียม Low-Earth Orbit Satellites (LEO) ที่ทำงานจาก 500 กิโลเมตร ถึง 2,000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก ในขณะที่ดาวเทียมสื่อสารแบบดั้งเดิมนั้นประจำการอยู่สูงกว่ามากโดยประมาณ 36,000 กิโลเมตรและเดินทางในวงโคจรที่เรียกว่า Geosynchronous ทั้งนี้ การเคลื่อนที่ของ LEO Satellites ด้วยความเร็วของการหมุนของโลกและโคจรลอยอยู่เหนือจุดคงที่วงโคจรที่ใกล้กว่าจะเอื้อต่อการเดินทางของสัญญาณที่เร็วกว่า ซึ่งทำให้การได้รับและส่งกลับข้อมูลระหว่างสถานีรับหรือที่เรียกว่า เวลาแฝง มีความเร็วมากกว่าดาวเทียมที่มีวงโคจรสูงกว่าหรือดาวเทียมที่อยู่ไกลออกไป และเนื่องจากสัญญาณดาวเทียมสามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้เร็วกว่าผ่านสายไฟเบอร์ออปติก ดาวเทียม LEO จึงมีศักยภาพในการแข่งขันในด้านความเร็วเหนือกว่าเครือข่ายภาคพื้นดิน |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/4433 |
Appears in Collections: | เทคโนโลยีอวกาศ
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|