Title:
|
อากาศยานไร้คนขับกับภารกิจทางทะเล |
Author:
|
ฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, TTA
|
Abstract:
|
ประเทศไทยเป็นรัฐชายฝั่งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน มีอาณาเขตทางทะเลอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางทะเล เป็นบริเวณที่มีกิจกรรมด้านการคมนาคม การพาณิชย์นาวีและการสื่อสาร เป็นผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่คิดเป็นมูลค่ารวมได้กว่า 17.9 ล้านล้านบาทต่อปี อาณาเขตทางทะเลจึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อความอยู่รอดของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง การปกป้ อง
อธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือเป็นหลัก มีอาณาเขตทางทะเลภายใต้ความรับผิดชอบกว่า 350,000 ตร.กม. ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่ งทะเลที่มีความยาวกว่า 2,800 กม. มีการจัดกำลังทางอากาศและทางเรือ เพื่อใช้สำหรับการลาดตระเวนตรวจการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ทางทะเลทั้งแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ อาทิ การก่อการร้าย โจรสลัดและการปล้นสะดม ภัยธรรมชาติและอุบัติภัย การลักลอบเข้าประเทศและแรงงานผิดกฎหมาย การลักลอบประมง รวมถึงปัญหาความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร และจากสถานการณ์การอพยพโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในบริเวณอาณาเขตน่านน้ำของไทย ส่งผลให้เกิดการระดมกำลังจากสาม
เหล่าทัพ จัดตั้งศูนย์อำนวยการลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย หรือ ศอ.ยฐ. (Operation Center For Patrol and Humanitarian Assistance to lrregular Migrants in the Indian Ocean (OCPHAM) โดยมีการจัดกำลังทางอากาศ ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องบิน Saab 340 AEW และ Gripen ของกองทัพอากาศจากหน่วยบิน 7021 และ 7022 และในส่วนของ
กองทัพเรือได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ 2 ลำ และเครื่องบินดอร์เนีย 2 ลำ ปฏิบัติการต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานติดต่อกันนานหลายวัน จนกระทั่งบรรลุภารกิจอย่างสมบูรณ์ |
URI:
|
http://hdl.handle.net/123456789/3799
|
Date:
|
2565-08-09 |