Title: | โครงการวิจัย เรื่อง การสำรวจภาคสนามและจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เชิงพื้นที่สำหรับการบริหาร จัดการสาธารณภัย ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน |
Author: | ไพศาล, จี้ฟู |
Abstract: |
ภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างประสบและได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม กรณีศึกษา ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน วิธีการดำเนินงานได้ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้ค่าคะแนนน้ำหนักปัจจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ความลาดชัน ลักษณะพื้นที่และความสูง ระยะห่างจากลำน้ำ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และชุดดิน และนำมาวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์โดยแบ่งระดับพื้นที่เสี่ยงออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก ผลการศึกษาพบว่าค่าจากแบบจำลองกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แสดงปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดน้ำท่วมมากที่สุด ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน (0.328) รองลงมาคือความลาดชัน (0.285) ลักษณะพื้นที่และความสูง (0.144) ระยะห่างจากลำน้ำ (0.114) การใช้ประโยชน์ที่ดิน (0.082) และชุดดิน (0.046) ค่าสัดส่วน ความสอดคล้อง มีค่า 0.0035 ค่าดัชนีความสอดคล้อง มีค่า 0.043 และดัชนีจากการสุ่มตัวอย่าง มีค่า 6.0216 ตามลำดับ ระดับความเสี่ยงสูง มีพื้นที่ 10,380 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 71 ของพื้นที่ทั้งตำบล ระดับความเสี่ยงปานกลาง มีพื้นที่ 2,681 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งตำบล ระดับความเสี่ยงสูงมาก มีพื้นที่ 1,380 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9 ของพื้นที่ทั้งตำบล และระดับความเสี่ยงต่ำและระดับต่ำมาก มีพื้นที่ 191 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.30 ตามลำดับ ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับความเสี่ยงสูง จำนวน 2,484 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 84 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยปรากฏในหมู่ 8 บ้านปางพัฒนา 2 จำนวน 513 ครัวเรือน รองลงมาได้แก่ ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับความเสี่ยงสูงมาก จำนวน 309 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 11 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยปรากฏในหมู่ 8 บ้านปางพัฒนา 2 จำนวน 106 ครัวเรือน พบสถานที่เสี่ยงภัยพิบัติคือบริเวณวัดบ้านปาง โรงเรียนปัว และโรงบ่มยา ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับความเสี่ยงปานกลางสูงสุด จำนวน 142 หลังคาเรือน คิดเป็นประมาณ ร้อยละ 5 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยปรากฏในหมู่ 6 บ้านป่าหัด จำนวน 36 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ระดับความเสี่ยงต่ำและระดับต่ำมาก จำนวน 20 หลังคาเรือน คิดเป็นประมาณร้อยละ 0.7 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยปรากฏในหมู่ 3 และหมู่ 5 จำนวน 17 ครัวเรือน ตามลำดับ เจ้าหน้าที่หน่วยความมั่นคงสามารถนำข้อมูลและผลการศึกษานี้ไปใช้งานในการเตรียมการป้องกันในอนาคต Flood disasters are a global problem and have caused grant damages. The main objectives of this research are to assess flood risk areas, a case study of Pua subdistrict, Pua district, Nan province. For operation methods using expert interview form as a scorer for the weight of 6 related factors consist of rainfall, slope, elevation, stream distance, land use and soil series and analyzed by analytical hierarchy process (AHP) model by dividing the risk areas into 5 levels comprise of very high, high, moderate, low and very low. Results, the values from AHP were calculated the most contributing factor to flooding that firstly rainfall (0.328), secondly slope (0.285), elevation (0.144), stream distance (0.114), land use (0.082) and soil series (0.046) respectively. The consistency ratio (CR), consistency Index (CI), and Random Index (RI) were accepted with values of 0.0035, 0.043 and 6.0216. The high-risk level was damaged area of 10,380 Rai, or 71% of the study area. The moderate risk levels was shown 2,681 Rai, or 18% of the study area and very high level was covered 1,380 Rai, or 9% of the study area and the low and very low was covered 191 Rai or 1.30% respectively. 2,484 households located in high-risk areas, accounting for 84 % of the total households which appeared in village number 8, Ban Pang Phatthana 2, amounting to 513 households, followed by there were 309 households located in high-risk areas, accounting for 11 % of the total households. It appeared in village number 8, Ban Pang Phatthana 2, with 106 households. Disaster-risk sites were found in Ban Pang Temple, Pua School, and a pharmaceutical factory. 142 households located in the highest medium-risk areas, representing about 5 % of the total households. It appeared among 36 households in Pa Hat 6 and 20 households located in low- and very low-risk areas, accounting for about 0.7 % of the total households which appeared among 17 households among 3 and 5, respectively. Security personnel can use the information and results of this study to prepare future defenses. |
Description: | ทุนอุดหนุนโครงการวิจัย |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/4668 |
Date: | 2566-10-19 |
Files | Size | Format | View | Description |
---|---|---|---|---|
โครงการวิจัย เร ... ภัย ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน.pdf | 3.449Mb |
View/ |
โครงการวิจัย เรื่อง การสำรวจภาคสนามและจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์เชิงพื้นที่สำหรับการบริหาร จัดการสาธารณภัย ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน |